ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
1.จอภาพ (Monitor)
เป็นอุปกรณ์แสดงข้อมูลผลลัพธ์ (Output) มีรูปร่างลักษณะคล้ายเครื่องรับโทรทัศน์
สามารถแสดง ผลได้ทั้งตัวหนังสือ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวจะแบ่งได้เป็น 2
ชนิด คือ
1.)จอซีอาร์ที (CRT :
Cathode Ray Tube)
2.)จอแอลซีดี (LCD
: Liquid Crystal Display)
2.เมาส์ (Mouse)
เป็นอุปกรณ์ในการรับข้อมูลเข้า ซึ่งการใช้งานในปัจจุบัน มีหลายแบบ
มีทั้งแบบที่มีสาย และไม่มีสาย ซึ่งเมาส์ที่ไม่มีสาย
เราเรียกว่าเมาส์อินฟราเรด และแบบ มีลูกกลิ้งกับแบบมีแสง
ซึ่งแบบมีแสงจะไม่มีลูกกลิ้งเราเรียกว่า ออปติคอล
3.คียบอร์ด (Keyboard)
หรือ แป้นพิมพ์
(ศัพท์บัญญัติใช้ว่า แผงแป้นอักขระ)
เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี
เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
โดยปกติมักจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือใกล้เคียง มีแป้นต่างๆ
ประมาณร้อยแป้นอยู่บนคีย์บอร์ด (ขึ้นอยู่กับผังแป้นพิมพ์)
ซึ่งถอดแบบมาจากเครื่องพิมพ์ดีด ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับรับข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ
แล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต จากนั้นจึงส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล หรือใช้ควบคุมฟังก์ชันการทำงานบางอย่างของคอมพิวเตอร์
และเพื่อให้การป้อนข้อมูลที่เป็นอักขระและตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น
คีย์บอร์ดจึงแยกแผงที่เป็นแป้นอักขระกับแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก
4.เคส คอมพิวเตอร์ (computer
case)
ก็คือกล่องสำหรับบรรจุอุปกรณ์ต่าง ๆ ของ คอมพิวเตอร์ เอาไว้ข้างใน
เพื่อประโยชน์ในการยึดอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีความมั่นคง กะทัดรัด เคลื่อนย้ายได้
ขณะเดียวกันก็เพื่อความปลอดภัย เช่น ป้องกันไฟดูด ป้องกันอุปกรณ์สูญหาย
และการป้องกันการส่งคลื่นรบกวนการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ
5.ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)
เป็นที่บรรจุข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ เก็บโปรแกรม และข้อมูลต่าง ๆ
หรือต้องการจะเก็บรักษาเอาไว้ใช้งานในคราวต่อไป จะแตกต่างกับหน่วยความจำแรมตรงที่
ดิสก์จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ
เอาไว้ได้ตลอดเวลาแม้ว่าคุณจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแล้วก็ตาม โดยข้อมูลต่าง ๆ
ที่อยู่ภายในดิสก์จะถูกบันทึกเอาไว้บนผิวหน้าแม่เหล็กของดิสก์
6.แหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ (Power
Supply)
แหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ หรือ
พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่ออุปกรณ์เกือบทุกตัวในระบบคอมพิวเตอร์
ซัพพลายของคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะการทำงาน คือทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220
โวลต์ เป็น 3.3 โวลต์, 5 โวลต์ และ 12 โวลต์
ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์นั้นๆ โดยชนิดของพาวเวอร์ซัพพลาย
ในคอมพิวเตอร์จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามเคส คือแบบ AT และแบบ ATX
7.เมนบอร์ด (Mainboard)
เมนบอร์ด (Mainboard)
คือ ศุนย์กลางของการเชื่อมต่อสำหรับอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
มีชิปเซตที่ำทำหน้าที่รับ/ส่งข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ อีกขั้นหนึ่ง เมนบร์ด (Mainboard)นิยมใช้มาตรฐานการออกแบบ ATX (Advance Technology Extension) ปรับปรุงจากระบบเก่าที่เป็นแบบ Body AT โดยแบบใหม่จะมีการปรับปรุงบริเวณ
ซีพียู(CPU)โดยจะย้ายไปไกลพัดลมของแหล่งจ่ายไฟ(Power
Supply) ทำให้สามารถระบายความร้อนได้ดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น
8.แรม (RAM)
จะทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่
ทั้งในแบบของ Input และ Output โดยการเข้าถึงข้อมูลของ
RAM นั้น จะเป็นการเข้าถึงแบบสุ่ม หรือ Random Access
ซึ่งหมายถึงโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงทุกๆส่วนของหน่วยความจำหรือพื้นที่เก็บข้อมูลได้โดยตรง
เพื่อเพิ่มความเร็วในการทำงานและการรับ-ส่งข้อมูล
เนื้อที่ของ RAM ได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักดังนี้
1. Input Storage Area
ส่วนนี้เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้า
(Input
Device) เช่น ข้อมูลที่ได้มาจากคีย์บอร์ด
โดยข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป
2. Working Storage Area
ส่วนนี้เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล
3. Output Storage Area
ส่วนนี้เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล
ตามความต้องการของผู้ใช้
เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออกยังหน่วยแสดงผลอื่นที่ผู้ใช้ต้องการ เช่นหน้าจอแสดงผล
เป็นต้น
4. Program Storage Area
เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง
หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา
เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่งชุดดังกล่าว
หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วนนี้ทีละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย
ว่าคำสั่งนั้นสั่งให้ทำอะไร
จากนั้นหน่วยควบคุมจะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ
หน่วยความจำจะจัดอยู่ในลักษณะแถวแนวตั้ง (CAS:Column Address Strobe) และแถวแนวนอน (RAS:Row Address Strobe) เป็นโครงสร้างแบบเมทริกซ์
(Matrix) โดยจะมีวงจรควบคุมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงจรในชิปเซต
(Chipset) ควบคุมอยู่
โดยวงจรเหล่านี้จะส่งสัญญาณกำหนดแถวแนวตั้ง และสัญญาณแถวแนวนอนไปยังหน่วยความจำเพื่อกำหนดตำแหน่งของข้อมูลในหน่วยความจำที่จะใช้งาน
9.CPU
CPU หรือ Central
Processing Unit คือหัวใจหลักในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์จึงขาดซีพียูไม่ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์
หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์
10.การ์ดจอ (Graphic
Card) หรือการ์ดแสดงผล
เป็นเหมือนสีสันของคอมพิวเตอร์เลยครับ
การ์ดจอ (Graphic Card) คือ
แผงวงจรที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแสดงผลยังจอภาพ
11.ดีวีดี (DVD)
เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง
(optical
disc) ที่ใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ภาพยนตร์
โดยให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดี ดีวีดีถูกพัฒนามาใช้แทนซีดีรอม
โดยใช้แผ่นที่มีขนาดเดียวกัน (เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร)
แต่ว่าใช้การบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน และความละเอียดในการบันทึกที่หนาแน่นกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น